บ้านพระยาวิชิตสงคราม |
โบราณสถานบ้านพระยาวิชิตสงครามสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2419 ผู้สร้างคือพระยาวิชิตสงคราม(ทัต) ต้นตระกูล รัตนติลก ณ ภูเก็ต เนื่องจากพวกกุลีจีนทำเหมืองแร่ได้ก่อความวุ่นวายขึ้นบ้านกะทู้มีการปะทะกันระหว่างพวกกุลีต่างก๊ก เพราะเรื่องผลประโยชน์เหมืองแร่และทางการได้เข้าปราบปราม จนในที่สุดได้เลิกราไป จึงได้สร้างบ้านใหม่ที่บริเวณบ้านท่าเรือ โดยเข้ามาอยู่เมื่อ พ.ศ.2420 และใช้บ้านหลังนี้เป็นที่ทำการตลอดจนว่าความคดีต่างๆ อีกด้วย อาจกล่าวได้ว่า ท่านเป็นผู้มีความสามารถในการจัดการทรัพยากรบุคคลคือกลุ่มชาวจีนที่เขามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารบุรพมหากษัตริย์ไทย จนสามารถนำทรัพยากรธรรมชาติอันมีค่า คือ ดีบุก มาสร้างความมั่งคั่งในกับแผ่นดินถือเป็นบุคคลสำคัญที่ช่วยดูแลผลประโยชน์ของแผ่นดินมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 3
กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติ ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่102 ตอนที่128 ลงวันที่ 17 กันยายน 2528 พื้นที่ 23ไร่ 1 งาน 14 ตารางวา
ที่ตั้ง
บ้านท่าเรือ ถนนเทพกระษัตรี ตำบลศรีสุนทร อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ตห่างจากตัวเมืองประมาณ 12 กิโลเมตร
การเดินทาง
ออกจากตัวเมืองไปตามถนนเทพกระษัตรีหรือทางหลวงหมายเลข 402 ประมาณ 12 กิโลเมตร บ้านพระยาวิชิตสงครามตั้งอยู่ทางขวามือ ใกล้กับศาลเจ้าท่าเรือ เลี้ยวเข้าไปในซอยหัวท่าประมาณ 50 เมตร และเลี้ยวซ้ายอีกครั้งหนึ่งเพื่อเข้าสู่บริเวณบ้านพระยาวิชิตสงคราม
ประวัติท่านพระยาวิชิตสงคราม
พระยาวิชิตสงคราม หรือ พระยาภูเก็ตโลหเกษตรารักษ์ ( ทัด ) เป็นเจ้าเมือง ภูเก็ต เมื่อปี พ . ศ . 2393 ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 4 สืบเชื้อสายมาจากพระยาถลาง ( เจิม ) ซึ่งมีศักดิ์เป็นปู่ และเป็นบุตรชายของพระภูเก็ต ( แก้ว ) เมื่อพระยาวิชิตสงครามเป็นเจ้าเมืองภูเก็ตสืบต่อจากบิดา ได้ย้ายเมืองมาอยู่ที่ ตำบลทุ่งคา ( อยู่ทางตอนใต้ของเกาะภูเก็ต ) เนื่องจากบริเวณนี้เป็นแหล่งแร่ดีบุกที่อุดม สมบูรณ์ ต่อมาเมืองภูเก็ตเจริญเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วมากกว่าเมืองถลาง จึงได้รับการ ยกฐานะเป็นหัวเมืองขึ้นตรงต่อกรุงเทพฯ เมื่อปี พ . ศ . 2405 พระยาวิชิตสงครามได้ชักชวนพ่อค้าชาวจีนมาลงทุนทำกิจการค้าและเหมืองแร่ ในภูเก็ต ส่งผลให้สภาพเศรษฐกิจของเมืองภูเก็ตเจริญมั่งคั่งกว่าหัวเมืองอื่น ๆ ในแถบนี้ แต่ในขณะเดียวกันก็ก่อให้เกิดเหตุจลาจลวุ่นวายหลายครั้ง เนื่องจากการทะเลาะวิวาท ของกรรมกรเหมืองแร่ชาวจีน หรือพวกอั้งยี่ เพื่อแย่งชิงแหล่งแร่ดีบุกและสายน้ำล้างแร่ พระยาวิชิตสงครามจึงย้ายบ้านและศาลาว่าการไปอยู่ที่บ้านท่าเรือในที่ดินของพระยาถลาง ( เจิม ) โดยสร้างกำแพงและป้อมปราการป้องกันอย่างแข็งแรง พระยาวิชิตสงครามได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าภาษีอากรรับผูกขาดผลประโยชน์ ในเมืองภูเก็ตทั้งหมด ต้องแข่งขันประมูลภาษีในอัตราที่สูงมากด้วยคาหมายว่าจะสามารถ จัดเก็บภาษีมาส่งให้รัฐบาลได้ทันตามกำหนด แต่ต่อมาไม่นานราคาดีบุกในตลาดโลกตกต่ำ ในปี พ . ศ . 2425 พระยาภูเก็ต ( ลำดวน ) ซึ่งเป็นลูกชายไม่สามารถจัดเก็บภาษีได้ทันจึงต้อง คืนการจัดเก็บภาษีให้กับรัฐบาล รัฐบาลจึงแต่งตั้งให้พระยาภูเก็ต ( ลำดวน ) เป็นเจ้าพนักงาน จัดเก็บภาษี แต่เนื่องจากได้ติดค้างเงินภาษีไว้จำนวนมาก จึงถูกปลดออกจากตำแหน่ง และส่งตัวไปเร่งรัดภาษีที่กรุงเทพฯ และถูกริบบ้านเรือนและทรัพย์สินต่าง ๆ ในที่สุด
กรุณารอสักครู่ ก่อนที่ความคิดเห็นของท่านจะถูกนำขึ้นแสดง
ความคิดเห็น: คำแนะนำ: HTML จะไม่ถูกแปลง!
ความนิยม: แย่ ดี
ป้อนรหัสในกล่องข้างล่างนี้: