พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติถลาง |
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติถลาง เป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจังหวัดภูเก็ต ซึ่งจุดเริ่มต้นเมื่อปี พ.ศ. 2333 ทำให้ภูเก็ตเป็นปัจจัยสำคัญแห่งหนึ่งในการปกป้องเมืองและคืนอิสระให้กับตนเองได้จากการถูกบุกรุกของพม่า โดยท้าวเทพกระษัตรี ท้าวศรีสุนทร ซึ่งเป็นวีรสตรีไทยที่ป้องกันเมืองถลางให้พ้นจากข้าศึกได้ในสงครามเก้าทัพในขณะนั้น จากเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ครั้งนั้น ทำให้ถูกนำไปตั้งชื่อเป็น พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติถลาง และในช่วงปี พ.ศ. 2528 ได้มีการเปิดอย่างเป็นทางการ เพื่อเฉลิมฉลอง ครบรอบ 200 ปี วีรสตรีเมืองถลาง โดยความร่วมมือของกรมศิลปากร ให้มีการจัดตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติถลางขึ้น
การสร้างอนุสาวรีย์ท้าวเทพกระษัตรี ท้าวศรีสุนทร เพื่อเป็นอนุสรสถานเชิดชูเกียรติของสองวีรสตรี และเพื่อเป็นแหล่งรวบรวมการ จัดการแสดงให้ความรู้ทางด้านประวัติศาสตร์ โบราณคดี ศิลปวัฒนธรรม ของจังหวัดภูเก็ตและพื้นที่ใกล้เคียงแถบชายฝั่งทะเลอันดามัน รวมทั้งเป็นสถานที่อนุรักษ์มรดกศิลปวัฒนธรรมและสนับสนุนกิจการด้าน การท่องเที่ยวของภูเก็ต
อาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติถลาง ได้เริ่มก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2528 และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติถลาง อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2532 การจัดแสดงนิทรรศการถาวรภายในอาคารจัดแสดงทั้ง 2 หลัง เน้นการนำ เสนอเนื้อหาเรื่องราวทางด้านประวัติศาสตร์ โบราณคดี ชาติพันธุ์วิทยา และศิลปวัฒนธรรมของจังหวัดภูเก็ตและพื้นที่ใกล้เคียง ดังนี้:
- สมัยก่อนประวัติศาสตร์ แสดงความเป็นอยู่ของมนุษย์สมัยก่อน ประวัติศาสตร์ แหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ แถบชายฝั่ง ทะเลอันดามัน และโบราณวัตถุซึ่งได้จากการสำรวจขุดค้น
- อารยธรรมอินเดียบนคาบสมุทรภาคใต้แสดง ถึงความสัมพันธ์ระหว่างอินเดียกับดินแดนคาบสมุทรภาคใต้ ของประเทศไทยที่มีมาแต่โบราณนับพันปี โดยยังคงมีศิลปะโบราณ วัตถุเป็นหลักฐานสำคัญ ได้แก่ เทวรูปพระนารายณ์ หรือพระวิษณุ รวมถึงพระพิมพ์ดินดิบแบบต่างๆ สถูปจำลอง ลูกปัด เป็นต้น
- ประวัติศาสตร์ของจังหวัดภูเก็ต แสดงเรื่องเกี่ยวกับ จังหวัดภูเก็ตนับแต่อดีต เหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ เช่น เหตุการณ์เมื่อครั้งศึกถลาง ความเจริญรุ่งเรืองของภูเก็ต ในสมัยพระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี เป็นต้น
- ชาติพันธุ์วิทยา แสดงเอกลักษณ์ ด้านศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีความเป็นอยู่ อาชีพ เครื่องมือเครื่องใช้ ของกลุ่มชนผู้อาศัยอบยู่ในจังหวัดภูเก็ต เช่น เกี่ยวกับวิถีชีวิตชาวจีน ชาวเล การทำเหมืองแร่ การทำสวนยางพารา เป็นต้น
บริการจากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ :
- ใบโบว์ชัวร์
- ร้านโปสการ์ดและหนังสือ
ช่วงเวลาเปิดทำการ :
ค่าธรรมเนียมเข้าชม :
กรุณารอสักครู่ ก่อนที่ความคิดเห็นของท่านจะถูกนำขึ้นแสดง
ความคิดเห็น: คำแนะนำ: HTML จะไม่ถูกแปลง!
ความนิยม: แย่ ดี
ป้อนรหัสในกล่องข้างล่างนี้: